กฎของเมนเดล

กฎของเมนเดล















     ในระดับพื้นฐานนั้นการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตเกิดจากลักษณะซึ่งมีการแยกเป็นส่วนชัดเจน เรียกว่ายีนคุณสมบัตินี้พบครั้งแรกโดยเกรเกอร์ เมนเดลซึ่งศึกษาการแบ่งแยกลักษณะต่างๆ ของต้นถั่วซึ่งมีการถ่ายทอดเช่นในการศึกษาลักษณะการ่ถายทอดสีของดอกถั่ว เมนเดลสังเกตว่าดอกของถั่วแต่ละต้นจะมีสีขาวหรือสีม่วง แต่จะไม่มีดอกที่มีสีที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองสีนี้ ลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนของยีนเดียวกันนี้เรียกว่าอัลลีล

ในกรณีของต้นถั่วซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมสองชุด ต้นถั่วแต่ละต้นจะมีอัลลีลในแต่ละยีนอยู่สองอัลลีล โดยแต่ละอัลลีลนั้นได้รับการถ่ายทอดมาจากต้นถั่วพ่อแม่ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดรวมทั้งมนุษย์ก็มีแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะในรูปแบบนี้เช่นกัน สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ ที่มีโครโมโซมสองชุดซึ่งทั้งสองอัลลีลในยีนหนึ่งๆ นั้นเหมือนกันเรียกว่าเป็นฮอโมไซกัสหรือเป็นพันธุ์แท้ที่โลคัสของยีนนั้น ในขณะที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ ที่ในยีนหนึ่งๆ มีอัลลีลสองแบบไม่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นเฮเทอโรไซกัสหรือเป็นพันธุ์ทาง

อัลลีลที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ ได้รับมานั้นเรียกว่าจีโนไทป์หรือรูปแบบพันธุกรรม ส่วนลักษณะที่สังเกตได้นั้นเรียกว่าฟีโนไทป์หรือรูปแบบปรากฏ เมื่อสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ มีความเป็นเฮเทอโรไซกัสในยีนหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วอัลลีลอันหนึ่งในนั้นจะเป็นลักษณะเด่นซึ่งจะแสดงออกมาเป็นฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ในขณะที่อีกอัลลีลหนึ่งจะเป็นลักษณะด้อยซึ่งถูกบดบังไว้ไม่แสดงออก อัลลีลบางอย่างเป็นลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงออกเป็นฟีโนไทป์ที่มีลักษณะผสมกัน หรือมีความเป็นลักษณะเด่นร่วมกันโดยทั้งสองอัลลีลสามารถแสดงออกพร้อมกันได้

เมื่อสิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ทายาทที่ได้จะรับอัลลีลจากพ่อ/แม่เพียงอัลลีลเดียวจาก 2 อัลลีล ลักษณะการถ่ายทอดเช่นนี้และการแยกเป็นส่วนชัดของอัลลีลเช่นนี้รวมแล้วเรียกว่ากฎข้อแรกของเมนเดลหรือกฎการแยกเป็นส่วนชัด

       กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว (LAW OF SEGREGATION) มีใจความว่า สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีอยู่เป็นคู่ๆ แต่ละคู่จะแยกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทำให้เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีหน่วยควบคุมลักษณะนี้เพียง 1 หน่วย และ จะกลับมาเข้าคู่อีกเมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกัน
         กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (LAW OF INDEPENDENT ASSORTMENT) มีใจความว่า ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรม ของลักษณะต่างๆ การรวมกลุ่มเหล่านี้เป็นไปได้อย่างอิสระ จึงทำให้เราสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูก และรุ่นหลาน

 ข้อควรระวัง
      ลักษณะเด่น หมายถึง ลักษณะที่มีโอกาสแสดงออกได้มากกว่า
      ลักษณะด้อย หมายถึง ลักษณะที่จะแสดงออกได้ ก็ต่อเมื่อมีการเข้าคู่แบบโฮโมโลกัสของยีนด้อยเท่านั้น
มัลติเปิลอัลลีลส์ (MULTIPLE ALLELES)
       หมายถึง ยีนที่มากกว่า 1 คู่ ที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งร่วมกันตัวอย่างเช่น หมู่เลือด ABO ของคนและสีขนของกระต่าย เป็นต้น

ข้อควรจำ
     สูตรที่ควรรู้จัก
1.  สูตรในการหาจำนวนเซลล์สืบพันธุ์ที่สิ่งมีชีวิตสร้าง = 2n เมื่อ n เป็นจำนวน heterozygous gene
2.  สูตรในการจำนวนจีโนไทป์ =3n เมื่อ n เป็นจำนวน heterozygous gene
3.  สูตรในการหาจำนวนฟีโนไทป์ =2n เมื่อ n เป็นจำนวน heterozygous gene
4.  สูตรในการหาจำนวนจีโนไทป์ของมัลติเปิลอัลลีลส์ =[n/2]n+1 ; เมื่อ n เป็นจำนวนอัลลีส์
ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (SECLINKED GENE)
     ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (SEX LINKED GENE ) หมายถึงยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศเช่น ยีนตาบอดสี ฮีโมฟิเลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบ ยีนเหล่านี้จะอยู่บนโครโมโซม X จึงพบลักษณะเหล่านี้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเนื่องจากเพศชายมีโครโมโซม X เพียงเส้นเดียว

ข้อสังเกต
1.  ลูกสาวจะเป็นโรคตาบอดสีได้ก็ต่อเมื่อ มีแม่ตาบอดสีหรือเป็นพาหะแล้วมีพ่อตาบอดสี
2.  ถ้าแม่ตาบอดสี พ่อตาปกติ ลูกชายจะตาบอดสีทุกคน

โครโมโซม
ความผิดปกติของโครโมโซมในคน
1.     กลุ่มอาการดาวน์ (DOWN’S SYNDROME) เกิดจากการที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม
2.     กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์(KLINE FELTER’S SYNDROME) เป็นเพศชาย มีโครโมโซม X เกินมา 1-2 เส้น (XXY,XXXY)
3.     กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (TURNER’S SYNDROME) เป็นเพศหญิงมีโครโมโซม X เพียงเส้นเดียว
4.     กลุ่มอาการคริดูซาต์(CRI-DU-CHAT SYNDROME) โครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไปบางส่วน

 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น